Posts

Showing posts from April, 2006

Delete all bookmarks in del.icio.us

I did a comparison of social bookmarking sites recently (in Thai) when I was making a decision which one to use. There was no one totally matches my requirement. For example blinklist.com is good but there's no restore feature. del.icio.us is also very good and simple to use but in term of managing the bookmarks and tags, it is not quite as good. You cannot delete all bookmarks, all private tags for example. You cannot manage your private tags at all through the web interfaces. Furl.net gave me error when importing and spurl.net didn't import it at all (they said they will in 24 hours but nothing happened). In fact I got this message after 2 days "Your access to Spurl.net has been terminated as a result of serious misuse of the service." Tried log out and the message was still there. I guess it has something to do with IP of the NAT router of my ISP. Anyway I finally decided to go with del.icio.us since the interface is simple and I can completely restore the bookmark

IIG

ได้คุยกับพรรคพวกเพื่อนฝูงที่อยู่ในวงการ internet exchange และ gateway ได้ความรู้มาพอสมควร ต้องจดไว้กันลืม exchange กับ gateway ต่างกันครับ exchange คือให้บริการศูนย์กลางแลกเปลี่ยน internet traffic ระหว่างสมาชิก คือ ISP ทั้งหลายแต่ไม่จำเป็นต้องมี link ออกต่างประเทศให้ ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ gateway ในส่วนของ exchange นั้นก็ทำได้ทั้ง layer 2 หรือ layer 3 ในอเมริกาก็มีหลาย exchange ที่เป็น layer 2 แต่ถ้าเป็นแบบ layer 2 นั้นอาจจะมี ISP แอบลักลอบขาย bandwidth ออกต่างประเทศกันเองโดยผู้ที่เป็น exchange นั้นไม่รู้ บ้านเราตอนนี้ CAT ก็เป็นผู้ให้บริการทั้ง exchange คือ NIX และ gateway คือ IIG โดยทั่วไปคนที่ให้บริการ exchange นั้นไม่จำเป็นต้องให้บริการ gateway ก็ได้ คนที่เป็น IIG ก็จะมีสองแนวทางในการต่อวงจรไปยังต่างประเทศคือแบบที่เรียกว่า peering และขอต่อเพื่อ transit การต่อแบบ peering นั้นไม่ต้องมีการจ่ายเงินระหว่างกัน เพียงแต่ตกลงช่วยกันจ่ายค่าวงจร TDM เช่นอาจจะช่วยกันออกคนละครึ่งเป็นต้น (half circuit) และก็แน่นอนครับคุณจะไป peering กับใคร เขาก็จะต้องดูว่าคุณมีศักดิ์ศรีหรือพูดง่ายๆคื

Social Bookmarking

นั่งใช้เวลาประมาณครึ่งวันเพื่อเืลือกเวป social bookmark ไว้ใช้งาน เคยได้ยิน del.icio.us , furl.net , spurl.net , blinklist.com , ma.gnolia.com เสียเวลาลองทุกอัน ได้ข้อสรุปว่าแต่ละอันก็คล้ายๆกัน จุดที่ต่างและเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ผมตัดสินใจก็คือ เรื่องการ import/export และ sync ระหว่าง bookmark ของ browser กับตัวเวป สรุปไล่ไปแต่ละอันได้อย่างนี้ครับ del.icio.us เป็นที่รู้กันว่า yahoo ซื้อไป user interface ก็ simple ดี ไม่สวยเท่าไร แต่ใช้ง่าย import ไม่มีปัญหา แต่ tag ห้ามมี white space คั่น นั่นก็คือผมต้องเปลี่ยนชื่อ folder ของ bookmark ใหม่ถ้าต้องการจะ sync ในส่วนของ export ไม่ work ครับ grouping และ folder ของผมหายหมดเวลา ต้องใช้ extension ของ firefox ชื่อ foxylicious ช่วยได้เยอะเลย คือเอา tag มาจัดเป็น folder ให้ แต่ปัญหาคือจะมีรายการซ้ำกันเยอะมากสำหรับ link ที่มี tag แปะอยู่หลายอัน blinklist .com user interface สวยครับ ใช้ก็ไม่ยากเท่าไร แต่ความที่ graphics เยอะ จะโหลดช้ากว่าหน่อย import ไม่มีปัญหา tag มี white space ได้ เรียกว่า import ได้เนียนมาก ไม่มี export มี แต่ backup เป็น r

Writing Blog using Writely

Image
ผมเิพิ่งได้ account ของ writely มาสดๆร้อนๆ เลยครับ writely นั้นเป็นเหมือนกับ online word application ซึ่งมีข้อดีในหลายๆแง่เช่นให้มีการร่วมกันเขียนเอกสาร เขียนแล้วโพสลง blog เก็บเอกสารที่เขียนไว้บน internet และอื่นๆอีกมาก แน่นอนครับ คงมีหลายคนคิดว่าไม่น่าจะ work เพราะส่วนใหญ่เราก็ทำงานกับ Microsoft Word อยู่แล้ว แต่ผมเชื่อมั่นว่า web service แบบนี้จะต้องมีประโยชน์มากในอนาคตครับ อย่างน้อยตอนนี้ผมก็ใช้ writely เขียน blog ได้ง่ายกว่าเยอะเลย และตอนนี้ล่าสุด Google ก็ซื้อ Writely ไปแล้วและ web writely ก็ปิดลงทะเบียนเป็นการชั่วคราวจะลงทะเบียนได้ก็ด้วยการมี invitation เท่านั้น ซึ่งผมได้ invitation มาจาก Jerry Wang ที่ Jerry Blog (Hi Jerry if you are reading this, Thanks a lot) และตอนนี้ก็คงมี invitation แจกกันทั่วไป ลอง google ดูครับ ถ้าผมมีก็จะเอามาแจกเช่นกันครับ เวลาโพสไปที่ blog ก็จะมี dialog box มาให้ set ตามรูปด้านล่างครับ

WordPress Press It Bookmarklet

Press It ? WordPress Codex สั้นๆครับ ผมว่าเจ้า Bookmarklet ที่ชื่อ Press It นี่ไม่เลวทีเดียว หลักง่ายๆก็คือถ้ามี Bookmarklet ตัวนี้อยู่ แล้วพอเรา browse web ไหนแล้วอยากจะ post เข้าไปใน blog ของเรา ก็แค่ click ที่ Bookmark นี้ หน้าจอที่ให้เขียน post ก็จะ pop up มาพร้อมทั้งมี link ไปยังหน้าที่เรากำลัง browse อยู่ให้เรียบร้อย เหมือนที่ผมทำเวลาเขียน post อันนี้ วิีธีการใช้งานและติดตั้งก็ดูรายละเอียดได้ที่ link ข้างบนครับ หรือไปที่หน้า Write Post เลื่อนไปด้านล่างสุดแล้วลากเอา link Wordpress Press It ขึ้นไปใส่ใน Bookmark Toolbar ก็เป็นอันเรียบร้อย

Put del.icio.us on your blog

อย่างสรุปเลยนะครับ ผมต้องการเอา bookmarks ที่ผมเก็บไว้ใน del.icio.us มาแสดงใน sidebar ของ blog ผม โดยผมใช้ plugin ชื่อ aggrss สำหรับ wordpress ซึ่งเจ้า plugin ตัวนี้ต้องใช้ function จาก lastRSS (ทั้งสองไฟล์ผม save local ไว้ด้วย just in case ที่นี่เลยครับ aggrss.php.txt และ lastRSS.php.txt ) ขั้นตอนในเรื่อง plugin นี้มี 4 ขั้นตอนง่ายๆ คือ 1. สร้าง directory lastRSS ใต้ wp-content/plugins และ download lastRSS.php มาเก็บไว้ใน wp-content/plugins/lastRSS แล้วก็ 2. download aggrss.php มาไว้ในใน directory plugins สร้าง directory aggrss-cache ไ้ว้ใต้ wp-content (ถ้าต้องการเปลี่ยนให้เปลี่ยนได้ใน aggrss.php) อย่าลืม set ให้เป็น read+write ด้วย

Converting DivX to VCD or DVD

โอเค ผมเสียเวลาไปหนึ่งวันกับอีกหนึ่งคืน ลองผิดลองถูกกับหลายโปรแกรมเพื่อจะทำการแปลงไฟล์ DivX ซึ่งหากันได้ทั่วไปบน internet ผมไปเจอหนังเยอะแยะเลยที่ projectw.org แต่คาดว่าคงจะมีเวปในไทยอีกหลายที่ที่ผมยังไม่รู้ พอโหลดไฟล์มาเรียบร้อยก็หาโปรแกรมที่จะแปลง DivX (นามสกุล .avi) ให้เป็น DVD หรือ VCD ตอนแรกก็ลอง convertXDVD ใช้เวลานานมาก น่าจะสัก 3-4 ชั่วโมงได้ และแปลงเป็น DVD ได้อย่างเดียว ก็ดูโอเคแต่พอเสร็จแล้วได้ directory audio กับ video มา พอไป burn กับ Nero แล้วปรากฏว่ามี warning files reallocation ผมก็ burn ไปสุดท้าย ก็เล่นกับเครื่องเล่น DVD ไม่ได้ จากนั้นก็มาลองโปรแกรม AVI2DVD ตัวนี้ ก็ใช้เวลานานเหมือนกัน ขนาดผมแปลงเป็นแค่ VCD ยังใช้เวลาตั้งหลายชั่วโมง และพอไปลงบนเครื่องเก่า Windows 2000 ผม มันทำเอาขึ้นจอฟ้าเลย สุดท้ายเลยมาจบที่ WinAVI ตัวนี้แนะนำเลยครับ work มาก แปลงได้ทั้ง เป็น VCD, SVCD และ DVD และใช้เวลาน้อยมาก VCD ไม่ถึงชั่วโมง DVD ประมาณชั่วโมงครึ่ง สรุปครับ....WinAVI

Technorati, Tech.Memeorandum, Techdirt

technorati.com เป็นเวปสำหรับค้นหาเรื่องต่างในโลกของ bloggoshere tech.memeorandum เป็นแหล่งรวมข่าวสารและ blog ต่างที่เกี่ยวกับวงการอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยี techdirt.com เป็นอีกเวปนึงที่ blog เกี่ยวกับเทคโนโลยี และ wireless technology จดไว้ก่อนเดี๋ยวค่อยมาไล่อ่านแต่ละเวปทีหลัง

Many Web Sites on one Host Machine

ถ้าต้องการรู้ว่ามีเพื่อนร่วมเครื่องที่ Host ด้วยกันอยู่กี่ web และมีใครบ้าง ไปที่นี่เลยครับ ReverseIP ที่ DomainTools ใส่ ip ของเครื่องที่ web เรา host อยู่เข้าไปซึ่งหาได้ไม่ยาก (ลอง ping ดูก็ได้หรือใช้ nslookup หรือ dnsstuff.com) ก็จะได้ list ของ web ทั้งหมดที่ร่วมชะตากรรมเดียวกันอยู่ออกมา สำหรับผมเอง (greatnote.com) มีเพื่อนร่วมห้องอยู่ตั้ง 139 คนแหนะ

Finally, I go for a Web Hosting

หลังจากที่ผมคิดตัดสินใจอยู่นาน และใช้เวลาลองหา Web Host แบบฟรีของเมืองนอก และจ่ายเงินแบบถูกๆ ของเมืองนอก เทียบกับเมืองไทย และก็ได้ทดลองใช้เทียบกันด้วย ก็มาจบที่ ขอใช้บริการ Web Host ในเมืองไทยดีกว่า เพราะ Server อยู่ในเมืองไทย traffic วิ่งผ่าน NIX ของ CAT ซึ่งบริษัท Hosting และ ISP ทั้งหลายก็มักจะมี bandwidth ไปหาที่ NIX นี้เป็นระดับ Gbps กันทั้งนั้น ในขณะที่ bandwidth ออกไปเมืองนอกรวมกันทั้งประเทศยังน้อยกว่าเยอะ ส่วน AwardSpace ผมคงจะใช้เป็นที่ Host ชั่วคราวของเวป sarabun.com กับ rfidthailand.com พอจะเลือก Web Host ในเมืองไทย ผมก็ลองดูหลายๆที่ และก็ได้ข้อมูลมากพอสมควรที่ thaihosttalk.com ซึ่งเข้าใจว่าส่วนใหญ่จะมีบริษัท Hosting หลายๆที่เข้ามาโพสและตอบคำถามอยู่ตลอดเวลา และสุดท้ายก็มาลงตัวเอาที่ servertoday.com เพราะราคาดีและพื้นที่เยอะ ผมได้พื้นที่ 2GB bandwidth 10GB/เดือน ได้ mySQL 2 databases ได้ subdomain, email ไม่จำกัด จะมีติก็เรื่องจำนวน databases ให้น้อยไปนิดนึง เสร็จสรรพผมก็เอา Wordpress 2.0 มาลงแล้วก็ import blog เข้ามาจาก blogger.com นี่แหละครับ ผมขอแนะนำ Wordpress มากๆเลยครับ

BoostIMG and PictureHost

ผมได้ที่เก็บรูปแบบมี direct link ให้แล้วครับ ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วด้วย คือที่ www.boostimg.com กับ www.picturehost.com ผมชอบที่ boostimg มากกว่า เพราะใช้ง่าย ขั้นตอนน้อยกว่า ขนาดต่อหนึ่งภาพได้ถึง 10MB ส่วน picturehost ก็โอเค แต่ขนาดต่อภาพสูงสุดอยู่ที่ 2MB

DreamHost

หลังจากที่ผิดหวังกับ AwardSpace ผมก็ยังพยายามหา Web Hosting อยู่ ทั้งแบบฟรีและแบบราคาถูกคุณภาพดี หลังจากดูอยู่พักใหญ่ DreamHost น่าสนใจครับ โดยจะต้องใช้ Promotion Code ที่มีอยู่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ได้ราคาลดลงมามากๆ ตอนนี้ที่เจอ Code ที่ลดได้มากสุดน่าจะเป็น techrecipes โดยให้ใส่ Code นี้ในหน้า Signup ได้เลยครับ ลดแล้วต่อปี ตก $22 ได้โดเมนฟรี 1 โดเมน และ Host กี่โดเมนก็ได้ รองรับ PHP, MySQL, Ruby on Rails ซึ่งดูพูดกันเยอะแต่ผมยังไม่รู้เลยคืออะไร เดี๋ยวขอเวลาพักหนึ่ง ศึกษาก่อนครับ

Getting Read More... to Work

ผมนึกว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่เอาเข้าจริงก็เสียเวลาไปหลายชั่วโมงเหมือนกัน เพราะห่างหายเรื่องเขียนเวป เรื่อง CSS, HTML ไปนานเลยเงอะๆงะๆเล็กน้อย เลยคิดว่าต้องเขียนสรุปไว้สักหน่อยกันลืม สิ่งที่ผมต้องการก็คือต้องการให้มี Read More... สำหรับแต่ละ Blog Post ของผมเพราะบางทีผมเขียนยาวและไม่ต้องการแสดงทั้งหมดในหน้าแรกของ Blog เพราะมันจะยาวไป ก็เลยต้องการให้มีปุ่ม Read More... เฉพาะกรณีที่ Blog อันนั้นยาวไป ผมอ่านจาก Help ของ Blogger.com และก็ไปเจอ Blog ของ Amit Upadhyay ที่บอกวิธีที่ผมต้องการไว้ มาเสริมปรับแต่งอีกนิดหน่อยก็ได้สิ่งที่ผมต้องการ สรุปแล้วผมทำอย่างนี้ครับ

Web Services I Use

มีหลายเวปเหลือเกินที่มีให้เลือกใช้ทุกวันนี้ที่ดีมากแล้วก็ฟรีด้วย ผมนั่งนับไปนับมาที่ผมสมัครไว้หลายที่มากใช้บ้างไม่ใช้บ้าง แต่ที่คิดว่าดีและใช้บ่อยๆ และก็คงจะใช้ต่อไปเรื่อยๆ ก็คือ gmail.google.com สำหรับเมลล์ส่วนตัวเพราะให้เนื้อที่หลาย GB และก็เวลาใช้งานดูเร็วกว่า Hotmail www.bloglines.com ซึ่งเป็นทั้ง feed reader และ blog reader ของผม แนะนำครับ www.flickr.com สำหรับเก็บรูปถ่าย และสามารถโพสมาที่ blogger ได้จากเมนูใน flickr เอง สะดวกมากครับ แต่ข้อเสียคือเขาจะยอมให้เฉพาะโพสรูปที่เป็นรูปถ่าย ถ้าเป็นรูปอื่นหรือไฟล์ประเภทอื่นจะไม่ยอม และสามารถ upload ได้เดือนละ 20 MB เท่านั้น www.box.net เก็บไฟล์อะไรก็ได้ ได้ฟรี 1 GB แต่โพสมา blogger ไม่ได้ ต้องเสียเงินรายปี $50 ถึงจะได้และจะได้ direct link มาด้วย น่าสนใจเหมือนกัน www.blogger.com แน่นอนครับ เป็นที่สำหรับเก็บ blog ของผม เพิ่งเช็คเมื่อตะกี้พบว่ายอมให้เก็บพวกรูปภาพได้ 300 MB ก็ไม่เลวครับ ผมกะว่าจะใช้อันนี้คู่กับ flickr แล้วกัน น่าจะประมาณแค่นี้ละครับที่ใช้บ่อย นอกนั้นก็มีที่น่าสนใจมากเหมือนกัน แต่ไม่รู้จะมีเวลาใช้หรือเปล่า เช่น www.protopage.co