VoIP Signaling Protocols Summary
ผมขอสรุปสั้นๆสำหรับคนที่ไม่มีเวลามากแต่ต้องการจะรู้ terminology อย่างคร่าวๆเพื่อเอาไว้พูดคุยหรือเข้าสัมมนาเกี่ยวเรื่อง next gen signaling ของพวก VoIP ครับ ปัจจุบัน VoIP เป็นเรื่องที่ทำกันทั่วไปเรามักจะรู้ว่าขั้นตอนหลักอันหนึ่งของ VoIP ก็คือการ convert สัญญาณ Voice ไม่ว่าจะเข้ามาในรูปของ analog หรือ digital (64 Kbps PCM) circuit oriented ให้อยู่ในรูปของ packet ส่วนขั้นตอนหลักอีกอันหนึ่งก็คือเรื่องของ signaling ซึ่งเราจะต้อง convert มาให้วิ่งอยู่บน ip network ด้วยจากที่เดิมนั้นอาจจะวิ่งอยู่ใน dedicate E1 ระหว่างชุมสายโทรศัพท์เช่นในกรณีของ SS7 signaling เป็นต้น
ส่วนประกอบที่สำคัญของการให้บริการ VoIP นั้นขึ้นอยู่ signaling protocol ที่ใช้ ถ้าเป็น protocol ล่าสุดที่ใช้กันและเป็นที่ตกลงกันทั้งฟากของ ITU และ IETF ก็คือ H.248/MEGACO(ITU เรียก H.248, IETF เรียก MEGACO) ซึ่งจะมีส่วนประกอบหลักๆคือ Media Gateway, Media Gateway Controller(บางทีเรียก Softswitch หรือ Call Agent) และ Signaling Gateway โดย Media Gateway นั้นก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ Trunk Gateway กับ Access Gateway โดยที่ Trunk Gateway ก็จะ interface เข้ากับ interface ระดับ E1 ที่ส่วนใหญ่มาจากชุมสายโทรศัพท์เดิม ส่วน Access Gateway ก็จะ interface ตรงกับ POTS หรือ IAD นั่นเอง ก่อนหน้าที่จะมี H.248 นี้ก็มี protocol ที่เรียกว่า MGCP(Media Gateway Control Protocol) ซึ่งเป็นของทางฟาก IETF แต่เป็นแค่ draft เท่านั้นและตอนนี้ก็หยุดพัฒนาต่อแล้ว
ส่วนถ้าใช้ signaling protocol แบบ SIP(Session Initiation Protocol) ก็จะประกอบไปด้วย SIP end points กับ SIP server โดย SIP end points จะมี intelligence อยู่ในตัวเยอะมากสามารถคุยกันระหว่าง end points ได้โดยตรง เป็น architecture ในลักษณะ peer-to-peer แต่มีข้ัอเสียก็คือถ้าจะต้องมีการ upgrade หรือเพิ่ม features จะต้องมีการเปลี่ยนที่ end points ด้วยไม่เหมือนกับแบบ H.248 ที่ intelligence ส่วนใหญ่อยู่ที่ MGC
สำหรับ signaling แบบ H.323 นั้นเป็น heavy weight protocol ที่ประกอบด้วย protocol ย่อยๆหลายอันเช่น H.225, H.245 โดยจะประกอบไปด้วย Terminal, Gateway, Gatekeeper และ Multipoint Controller Unit สำหรับ H.323 นั้นค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน ขั้นตอนเยอะ จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในลัีกษณะ carrier แต่จะเหมาะกับ enterprise environment มากกว่า
ส่วนประกอบที่สำคัญของการให้บริการ VoIP นั้นขึ้นอยู่ signaling protocol ที่ใช้ ถ้าเป็น protocol ล่าสุดที่ใช้กันและเป็นที่ตกลงกันทั้งฟากของ ITU และ IETF ก็คือ H.248/MEGACO(ITU เรียก H.248, IETF เรียก MEGACO) ซึ่งจะมีส่วนประกอบหลักๆคือ Media Gateway, Media Gateway Controller(บางทีเรียก Softswitch หรือ Call Agent) และ Signaling Gateway โดย Media Gateway นั้นก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ Trunk Gateway กับ Access Gateway โดยที่ Trunk Gateway ก็จะ interface เข้ากับ interface ระดับ E1 ที่ส่วนใหญ่มาจากชุมสายโทรศัพท์เดิม ส่วน Access Gateway ก็จะ interface ตรงกับ POTS หรือ IAD นั่นเอง ก่อนหน้าที่จะมี H.248 นี้ก็มี protocol ที่เรียกว่า MGCP(Media Gateway Control Protocol) ซึ่งเป็นของทางฟาก IETF แต่เป็นแค่ draft เท่านั้นและตอนนี้ก็หยุดพัฒนาต่อแล้ว
ส่วนถ้าใช้ signaling protocol แบบ SIP(Session Initiation Protocol) ก็จะประกอบไปด้วย SIP end points กับ SIP server โดย SIP end points จะมี intelligence อยู่ในตัวเยอะมากสามารถคุยกันระหว่าง end points ได้โดยตรง เป็น architecture ในลักษณะ peer-to-peer แต่มีข้ัอเสียก็คือถ้าจะต้องมีการ upgrade หรือเพิ่ม features จะต้องมีการเปลี่ยนที่ end points ด้วยไม่เหมือนกับแบบ H.248 ที่ intelligence ส่วนใหญ่อยู่ที่ MGC
สำหรับ signaling แบบ H.323 นั้นเป็น heavy weight protocol ที่ประกอบด้วย protocol ย่อยๆหลายอันเช่น H.225, H.245 โดยจะประกอบไปด้วย Terminal, Gateway, Gatekeeper และ Multipoint Controller Unit สำหรับ H.323 นั้นค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน ขั้นตอนเยอะ จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในลัีกษณะ carrier แต่จะเหมาะกับ enterprise environment มากกว่า