Buying Air Condition

บีทียู (BTU : British Thermal Unit)
คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนตัวหนึ่ง (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ) สามารถเปรียบเทียบได้กับหน่วยแคลอรีหรือหน่วยจูลในระบบสากล โดยที่ความร้อน 1 BTU คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์

สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้น จะวัดกำลังความเย็นหรือความสารถในการดึงความร้อน(ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง(BTU/h)

ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระดับสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจากห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่า บีทียูต่อชั่วโมง

การเลือกซื้อแอร์
สำหรับท่านที่กำลังพิจารณาซื้อเครื่องปรับอากาศ ข้อแนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยท่านในการตัดสินใจได้ดีขึ้น

1. ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มียี่ห้อที่เชื่อถือได้ เพราะแอร์โนเนม ส่วนใหญ่จะมี Btu/h น้อยกว่าที่บอกไว้ (ภาษาช่างแอร์เรียกว่า ไม่เต็ม บีทียู ) มีข้อมูลจากห้องแลปที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งสุ่มทดสอบเครื่องปรับอากาศหลายยี่ห้อ พบว่าแอร์โนเนมส่วนใหญ่มี Btuh ประมาณ 70-80% ของที่โฆษณาไว้ (ฺการเรียกขนาดทำความเย็นที่ถูกต้องคือ บีทียู ต่อ ชั่วโมง หรือ Btu/h แต่ช่างแอร์ชอบเรียกกันย่อๆแค่ บีทียู ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ก็เป็นที่เข้าใจกัน) นอกจากจะไม่เต็มบีทียูแล้ว แอร์โนเนมยังมีเสียงดัง และเสียเร็วอีกด้วย

2. เครื่องแอร์แบบติดผนัง จะมีเสียงเงียบกว่าแบบตั้งพื้น/แขวนฝ้า แต่ว่าก็จะมีราคาแพงกว่า แต่อยากจะแนะนำให้ใช้ แบบติดผนัง โดยเฉพาะในห้องนอน เพราะว่าเสียงเงียบกว่ากันมาก

3. ควรเลือกใช้เทอร์โมสตัทแบบอิเลคโทรนิค เพราะควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำ ไม่สวิงไปมา แอร์รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่เทอร์โมสตัท จะเป็นแบบอิเลคโทรนิกแล้ว ยกเว้นแอร์แบบตั้งพื้น/แขวนฝ้าบางรุ่นเท่านั้น ที่ยังคงให้แบบธรรมดามา (แบบไบเมทอล) มีข้อสังเกตง่ายๆอีกอย่างก็คือ ถ้าแอร์มีรีโมทคอนโทรล เทอร์โมสตัทจะเป็นแบบอิเลคโทรนิกค่อนข้างจะแน่นอน

4. ไม่ต้องไปสนใจมากกับแผ่นฟอกอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ เพราะ เสื่อมสภาพเร็วมากๆ และที่ให้มาก็มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถฟอกอากาศได้ตามที่โฆษณาแน่ๆ (อาจจะจับฝุ่นได้ 1000 อนุภาค จากที่วิ่งผ่านเป็นล้านอนุภาค) เป็นเพียงเครื่องมือทางการตลาดเท่านั้น นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วๆไป ยังมักไม่ค่อยจะเปลี่ยนแผ่นฟอกอากาศด้วย ดังนั้นเมื่อใช้เครื่องไปพักเดียว ก็เหมือนกับไม่มีแผ่นฟอกอากาศอยู่แล้ว

5. ควรเลือกใช้แอร์ที่มีฉลากประหยัดไฟ จะเบอร์ 5 หรือ เบอร์ 4 ก็ได้ (ต่ำกว่าเบอร์ 4 ไม่เห็นมีขาย) หรือ ได้มาตรฐาน มอก. เพราะ เป็นเครื่องที่มีการทดสอบความสามารถการทำความเย็นแล้ว (Btu/h) ซึ่งจะทำให้เราได้แอร์เต็มบีทียู (มีข่าวว่า มีการปลอมฉลากเบอร์ 5 เหมือนกัน ดังนั้นต้องดูประกอบกับยี่ห้อที่น่าเชื่อถือด้วย)

6. แอร์ที่มีขายกันอยู่มี 3 สัญชาติคือ ไทย ญี่ปุ่น ฝรั่ง โดยแอร์ไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แอร์ที่มีมาตรฐาน กับ แอร์โนเนมไม่มีมาตรฐาน ที่จะพูดถึงแอร์ไทยต่อไปนี้จะหมายถึงแอร์ไทยที่มีมาตรฐาน (ส่วนโนเนมไม่แนะนำให้ใช้ครับ) ฝรั่งเป็นผู้ที่คิดค้นเครื่องแอร์ขึ้นมาได้ แต่มีลักษณะเทอะทะตามสไตล์ฝรั่ง ต่อมาญึ่ปุ่นได้นำแอร์ฝรั่งมาพัฒนาต่อ จนกลายเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็กและสวยงาม ส่วนพี่ไทยก็ตามมาก๊อบปี้ของญี่ปุ่นอีกที จนถึงทุกวันนี้ ผู้นำเทคโนโลยีในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ยังคงเป็นญึ่ปุ่นอยู่ครับ ฝรั่งก็ตามไม่ทัน ฝรั่งก็เลยใช้วิธีร่วมทุนกันบริษัทญี่ปุ่นเสียเลยในการผลิตแอร์ขนาดเล็ก (แคร์เรียร์ กับ โตชิบา ร่วมทุนกัน โดยใช้เทคโนโลยีของโตชิบา) แอร์ฝรั่งบางเจ้า ก็ใช้ผู้ผลิตไทยนี่แหละผลิตให้ แล้วติดยี่ห้อฝรั่ง สำหรับราคา ก็ต่างกันไม่มากครับ โดยราคาแอร์ญี่ปุ่นจะแพงกว่าแอร์ไทยกับแอร์ฝรั่งประมาณ 10-15% อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแอร์ไทย ฝรั่ง หรือ ญึ่ปุ่น ก็ผลิตกันในประเทศไทยกันหมดแล้วครับ ประเทศไทยเป็นฐานการส่งออกเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

การคำนวณ BTU
ขนาด BTUห้องนอนห้องนอนโดนแดดห้องรับแขกห้องรับแขกโดนแดดห้องทำงาน
1200016-2214-2016-2014-1814-16
1530020-2818-2620-2618-2315-20
1800024-3321-3024-3021-2718-24
2080028-3824-3528-3524-3121-28
2280030-4227-3830-3827-2423-30
2720036-5032-4536-4532-4127-36
3280044-6038-5544-5538-4933-44
3800051-7044-6351-6344-5738-51
5300071-9762-8871-8862-8053-71
6400086-11875-10786-10775-9764-86

Popular posts from this blog

Make keyboard on PC behave like Mac

Put del.icio.us on your blog

Scuttle Bookmark